ชายหาดจังหวัดสตูล

จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน มีพื้นที่ประมาณ 2807.52 ตารางกิโลเมตร ความยาวชายฝั่ง 161.27 กิโลเมตร มีขอบเขตของ 4 อำเภอ 12 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะเล็กใหญ่รวมกันมากถึง 158 เกาะ ทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญได้แก่ แนวประการัง แหล่งหญ้าทะเล โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาปากขวด โลมาหลังโหนก โลมาอิรวดี วาฬเพชฌฆาตดำ วาฬบรูดา ฉลามวาฬ กระเบนราหูยักษ์ เต่ากระ เต่าตะนุ เต่ามะเฟือง พะยูน ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าพรุ (ที่มา: https://www.dmcr.go.th/detailLib/7145 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2566)

ภาพถ่ายดาวเทียม จ.สตูล (ที่มา: Google Earth)

ระบบนิเวศชายหาดจังหวัดสตูลมีความหลากหลายประกอบไปด้วย หาดทราย 45.18 กิโลเมตร หาดทรายปนโคลน 1.84 กิโลเมตร หาดโคลน 84.89 กิโลเมตร หาดหิน 16.58 กิโลเมตร และปากแม่น้ำ 12.78 กิโลเมตร ทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมายทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจกับชายหาดและเกาะจังหวัดสตูล เกาะที่มีชื่อเสียงของมากที่สุดคือ เกาะหลีเป๊ะ เนื่องจากมีน้ำทะเลสีใสสะอาด ปะการังหลากสีสัน ปลาหลากหลายชนิด ทำให้เกาะแห่งนี้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มาเที่ยวชม

บนเกาะหลีเป๊ะมีหาดซันไรซ์เหมาะสำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า เมื่อมีพระอาทิตย์ขึ้นก็ต้องมีพระอาทิตย์ตกหาดซันเซ็ทจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับการชมภาพพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

นอกจากนี้ยังมีเกาะหินงามที่มีหาดเป็นหินกรวมมนสีดำสวยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเกาะ เกาะอาดัง เกาะบุโหลน เกาะไข่ เกาะราวี ก็มีความสวยงามไม่แพ้กัน นอกจากเกาะแล้วบนฝั่งยังมีหาดปากบารา ที่เหมาะสำหรับคนรักความสงบและต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง

หาดสันหลังมังกรเป็นหาดที่มีทรายเป็นเปลือกหอยที่ถูกคลื่นซัดมาทับถมกันอยู่ระหว่างเกาะหัวมันและเกาะสาม หาดหัวหินเป็นหาดธรรมชาติผืนสุดท้ายที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีผักบุ้งทะเลปกคลุมแนวสันทราย สามารถมานั่งเล่นรับลมได้อย่างสบายใจ

เกาะหลีเป๊ะ (ที่มา: )

เกาะหินงาม (ที่มา: https://thai.tourismthailand.org/)

เกาะอาดัง (ที่มา: https://thailandtourismdirectory.go.th/)

เกาะบุโหลนเล (ที่มา: https://www.faceticket.net/attraction/koh-bulone-island/)

หาดซันเซ็ท (ที่มา: https://www.facebook.com/UnseenThailand/)

หาดปากบารา (ที่มา: https://www.paiduaykan.com/travel/)

หาดสันหลังมังกร (ที่มา: https://travel.trueid.net/detail/3yML6oblN4qZ)

หาดหัวหิน (ที่มา: https://th.trip.com/)

หลังจากที่แนะนำชายหาดและเกาะที่สวยงามไปแล้ว ต่อมาจะพาไปดูอีกมุมของชายหาดกันบ้าง เป็นที่รู้ดีว่าชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงมากสุดในช่วงมรสุมทำให้ชายหาดหลายที่เกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง

ทั้งนี้การกัดเซาะชายฝั่งเกิดทั้งจากฝีมือของธรรมชาติและจากน้ำมือมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น หาดบางศิลาเป็นหาดที่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สร้างขึ้นจากหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็น กำแพงกันคลื่นแบบลาดเอียง เขื่อนหินทิ้งยาวต่อเนื่องตลอดแนวชายฝั่ง แต่กลับพบว่า ณ จุดสิ้นสุดโครงการมีการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่น ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย (อ่านต่อได้ที่ สำรวจการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง ปลายสุดแดนฝั่งอันดามัน)

หาดท่าแพ-ตันหยงโปเป็นอีกหนึ่งหาดที่มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเป็นกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงและลาดเอียงอยู่คู่กับที่อยู่อาศัยของชาวบ้านบริเวณนั้น หาดปากบาราเองก็มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคือ กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง กำแพงกันคลื่นประเภทลาดเอียง เขื่อนหินทิ้ง และเขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขา ตลอดแนว (อ่านต่อได้ที่ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลสตูล) พื้นที่ชายหาดที่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งของประเทศมากกว่าบนเกาะ ทำให้หาหาดทรายที่อุดมสมบูรณ์ได้ยากยิ่ง

เขื่อนหินทิ้ง หาดบางศิลา (ที่มา: https://beachlover.net/)

กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง หาดท่าแพ-ตันหยงโป (ที่มา: https://beachlover.net/)

เขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขา หาดปากบารา (ที่มา: https://beachlover.net/)

จากการรวบรวมข้อมูลงบประมาณที่หน่วยงานรัฐใช้ในการแก้ไขและป้องการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปี 2558-566 พบว่ามีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 292.60 ล้านบาท

งบประมาณป้องกันชายฝั่ง จ.สตูล

ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)

นอกจากนี้จังหวัดสตูลมีปากร่องน้ำทั้งหมด 21 ปากร่องน้ำ และมีงบประมาณที่ใช้ในการขุดลอกปากร่องน้ำที่ออกสู่ทะเลตั้งแต่ปี 2558-2566 เป็นเงินทั้งสิ้น 25.26 ล้านบาท โดยขุดลอกเพียงสองครั้งที่บริเวณ ปากร่องน้ำปากบารา อำเภอละงู (STN01)

งบประมาณขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล จ.สตูล

ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)

ปากร่องน้ำปากบารา (ที่มา: Google Earth)