จังหวัดพังงา มีพื้นทั้งหมด 4,170.89 ตารางกิโลเมตร ชายฝั่งทะเลมีความยาว 241 กิโลเมตร เป็นอีกจังหวัดที่มีหมู่เกาะสวยงามมากมาย จำนวน 105 เกาะ โดยมีขอบเขต 6 อำเภอ 19 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล (ที่มา: https://www.dmcr.go.th/detailLib/7145 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2566) ซึ่งเกาะที่นักท่องเที่ยวหลายคนรู้จักกันดี คือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ยอดฮิตในการดำน้ำดูปะการัง

ภาพถ่ายดาวเทียม จ.พังงา (ที่มา: Google Earth)
หากจะมาเที่ยวจังหวัดพังงาคงไม่มีใครไม่รู้จัก หาดเขาหลัก ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ บรรยากาศร่มรื่นด้วยทิวสนทะเลเป็นแนวเรียบชายหาด ทรายขาวละเอียด หินก้อนเล็กใหญ่สลับกันไป

หาดเขาหลัก (ที่มา: https://www.loveandaman.com/beach-th/khao-lak-beach)
หาดบางเนียง เป็นชายหาดที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะนอกจากชายหาดที่สวยงามแล้ว ยังมีโรงแรมหลากหลายให้เลือกพักทั้งกระเป๋าหนักและกระเป๋าเบา

หาดบางเนียง (ที่มา: https://beachlover.net)
นอกจากนี้ยังมีชายหาดที่ไม่ควรพลาดสำหรับคนที่รักในการเล่นเซิร์ฟ ได้แก่ เมมโมรี่บีช ซึ่งหาดนี้จะเต็มไปด้วยผู้คนที่โต้คลื่นอยู่ในทะเล มีโรงเรียนสอนเล่นเซิร์ฟชื่อดังไว้คอยบริการ และเป็นชายหาดที่นั่งดูพระอาทิตย์ตกสวยเป็นอับดับต้นๆ ของประเทศไทย

เมมโมรี่บีช (ที่มา: https://www.adaytochill.com/monkeydivehostel/)
ในอีกด้านของความเป็นจริง ชายหาดเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะ โดยข้อมูลปี พ.ศ. 2563 พบว่า ชายหาดจังหวัดพังงา มีระยะกัดเซาะรวม 4.62 กิโลเมตร แบ่งเป็น การกัดเซาะรุนแรง 1.09 กิโลเมตร, กัดเซาะปานกลาง 0.64 กิโลเมตร และกัดเซาะน้อย 2.89 กิโลเมตร (ที่มา: https://www.dmcr.go.th/detailLib/7145 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2566) ซึ่งได้รับการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น คือ มอบถุงใยสังเคราะห์ (Geobag) ให้แก่ผู้รับผลกระทบ ส่วนผู้ประกอบการของโรงแรมได้มีการสร้างเขื่อนหินตลอดแนวชายฝั่งและได้มีการซ่อมแซมทุกๆปี

กำแพงกันคลื่น (ที่มา: https://beachlover.net)
มีการใช้โกงกางเทียม บริเวณหาดนางทอง ซึ่งเป็นนวัตกรรมป้องกันชายฝั่งแบบใหม่ โดยโครงสร้างทจะวางขนานกับแนวชายฝั่ง ทำหน้าที่ช่วยชะลอแรงคลื่นปะทะในแนวตั้งฉาก ประกอบด้วย เสาหลักทำจากเนื้อไม้ผสมพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ส่วนรากเทียมออกแบบคล้ายรากต้นโกงกางใช้ยางพาราธรรมชาติ

โกงกางเทียม (https://beachlover.net/รากโกงกางเทียม-อีกรอบ-ณ/)
และมีการใช้รั้วดักทราย บริเวณหน้าวัดท่าไทร หาดจอมเทียน ซึ่งรั้วไม้เปรียบเสมือนตัวช่วยเร่งและดักให้เกิดการสะสมตะกอนทราย เป็นการลดผลกระทบของการกัดเซาะชายหาดและฟื้นฟูชายหาด

รั้วดักทราย (ที่มา: https://beachlover.net)
โดยงบประมาณที่ใช้ในการแก้ไขและป้องการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดพังงา จากข้อมูลปี 2558-566 พบว่า มีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 94.38 ล้านบาท

งบประมาณป้องกันชายฝั่ง จ.พังงา
ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)
จังหวัดพังงามีปากร่องน้ำทั้งหมด 5 ปากร่องน้ำ และมีการใช้งบประมาณในการขุดลอกปากร่องน้ำตั้งแต่ปี 2558-2566 เป็นเงิน 6.48 ล้านบาท

งบประมาณขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล จ.พังงา
ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)