จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ทั้งหมด 263.19 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลความยาว 16.56 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลที่บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หาดโคลน 15.81 กิโลเมตร และปากแม่น้ำ 0.74 กิโลเมตร โดยที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีปากร่องน้ำทั้งหมด 3 ปากร่องน้ำ มีขอบเขตของ 1 อำเภอ 2 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล (ที่มา: https://www.dmcr.go.th/detailLib/7145 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2566)

ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth
เนื่องจากชายฝั่งทะเลตลอดจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นเป็นหาดโคลน มีตัวอย่างแสดงดังรูปด้านล่าง สถานที่ท่องเที่ยวรวมถึงสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น วัดและร้านอาหาร จึงปลูกสร้างในลักษณะยื่นออกไปในทะเล สถานที่หลายๆแห่งจึงมีจุดชมวิวที่มีบรรยากาศเหมาะกับการดูพระอาทิตย์ตก เช่น วัดหงส์ทอง เป็นต้น

หาดโคลน

วัดหงส์ทอง (ที่มา: https://www.wathongthong.com)
เนื่องจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในผืนดิน ทำให้ชายหาดจังหวัดฉะเชิงเทรามีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแสดงให้เห็นดังรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

โครงสร้างปักไม้ไผ่ (ที่มา: beachlover.net)
จากข้อมูลสถานการณ์ชายฝั่งจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2563 พบว่า มีพื้นที่ที่ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง 0.80 กิโลเมตร และพื้นที่ชายฝั่งที่มีปัญหากัดเซาะ แต่ได้รับการแก้ไขแล้ว 15.76 กิโลเมตร (ที่มา: https://www.dmcr.go.th/detailLib/7145 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2566) เนื่องจากพื้นที่ริมชายฝั่งส่วนใหญ่ ถูกป้องกันด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดทั้งแนว จึงทำให้ไม่พบปัญหาการกัดเซาะ มีตัวอย่างเช่น กำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง ณ บริเวณบ้านสองคลอง เป็นต้น โดยมีการทดลองปลูกรากแสมเทียม เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะของหาดโคลน ณ บริเวณนี้อีกด้วย

กำแพงกันคลื่นบ้านคลองสอง

โครงการทดลองปลูกต้นแสมเทียม บ้านสองคลอง
จากการรวบรวมข้อมูลโครงการป้องกันชายฝั่งของจังหวัดฉะเชิงเทราในช่วงปี 2558-2566 นั้น พบว่าหน่วยงานรัฐมีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 99.06 ล้านบาท

งบประมาณป้องกันชายฝั่ง จ.ฉะเชิงเทรา
ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)
นอกจากนี้หน่วยงานรัฐยังมีการใช้งบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำตั้งแต่ปี 2558-2566 เป็นงบทั้งสิ้น 443.74 ล้านบาท

งบประมาณขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล จ.ฉะเชิงเทรา
ที่มาข้อมูล: ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (https://govspending.data.go.th/)